นโยบายการกำกับดูแลกิจการ

บริษัทฯ ให้ความสำคัญและปฏิบัติตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีซึ่งเป็นมาตรฐานสำกล
ที่สอดคล้องกับหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี

สำหรับบริษัทจดทะเบียนปี 2555 ของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีสำหรับบริษัทจดทะเบียนปี 2560 หรือ Corporate Governance Code for Listed Companies 2017 ที่ออกโดยสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ บริษัทฯตระหนักว่าการดำเนินธุรกิจภายใต้หลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีจะเป็น ระบบการบริหารจัดการที่ก่อให้เกิด ความเป็นธรรม โปร่งใส สำมารถสร้างผลตอบแทน และเพิ่มมูลค่าระยะยาวให้กับผู้ถือหุ้น

รวมถึงสร้างความเชื่อมั่นต่อผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่าย และสนับสนุนส่งเสริม ความสำมารถในการแข่งขันของกลุ่มบริษัทฯ ให้เจริญเติบโต

และนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนต่อไป บริษัทฯได้ทำการทบทวน และปรับปรุงนโยบายการกำกับดูแลกิจการที่ดีเพื่อให้สอดคล้องกับหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีสำหรับบริษัทจดทะเบียน ปี 2560 ประกอบด้วยนโยบายการกำกับดูแลกิจการที่ดี หลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี 8 หลักปฏิบัติจริยธรรมในการดำเนินธุรกิจ จรรยาบรรณของคณะกรรมการ
บริษัทฯ ผู้บริหาร และ พนักงาน

นโยบายและแนวปฏิบัติที่เกี่ยวกับคณะกรรมการ

บริษัทฯ ได้กำหนดนโยบายและการปฏิบัติที่เกี่ยวข้องกับคณะกรรมการและผู้บริหารไว้ในนโยบายกำกับดูแลกิจการ ภายใต้หมวดความรับผิดชอบของคณะกรรมการ โดยผ่านการกำหนดเป็น หลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี 8 หลักปฏิบัติ ดังต่อไปนี้

หลักปฏิบัติ 1

ตระหนักถึงบทบาทและความรับผิดชอบของคณะกรรมการบริษัทฯ ในฐานะผู้นำองค์กรที่สร้างคุณค่าให้แก่กิจการอย่างยั่งยืน

หลักปฏิบัติ 2

กำหนดวัตถุประสงค์และเป้าหมายหลักของกิจการที่เป็นไปเพื่อความยั่งยืน

หลักปฏิบัติ 3

เสริมสร้างคณะกรรมการบริษัทฯที่มีประสิทธิผล

หลักปฏิบัติ 4

สรรหาและพัฒนาผู้บริหารระดับสูงและการบริหารบุคลากร

หลักปฏิบัติ 5

การส่งเสริมนวัตกรรมและการประกอบธุรกิจอย่างมีความรับผิดชอบ

หลักปฏิบัติ 6

ดูแลให้มีระบบการบริหารความเสี่ยงและการควบคุมภายในที่เหมาะสม

หลักปฏิบัติ 7

รักษาความน่าเชื่อถือทางการเงินและการเปิดเผยข้อมูล

หลักปฏิบัติ 8

สนับสนุนการมีส่วนร่วมและการสื่อสารกับผู้ถือหุ้น

บริษัทฯ จึงได้กำหนดให้มีนโยบายการกำกับดูแลกิจการเพื่อให้กรรมการบริษัท ผู้บริหาร และพนักงานทุกคน ยึดถือเป็นแนวทางในการปฏิบัติงาน โดยมีสาระใจความสำคัญ คือ

  1. กรรมการบริษัทฯ ผู้บริหาร และพนักงานทุกคน มุ่งมั่นที่จะนำหลักการกำกับดูแลกิจการ จริยธรรมในการดำเนินธุรกิจ และจรรยาบรรณกรรมการบริษัท ผู้บริหาร และพนักงาน ไปปฏิบัติในการดำเนินงานของกลุ่มบริษัทฯ
  2. กรรมการบริษัทฯ ผู้บริหาร และพนักงานทุกคน ต้องปฏิบัติหน้าที่ด้วยความรับผิดชอบ ระมัดระวัง ซื่อสัตย์ สุจริต โดยปฏิบัติตามกฎหมาย ข้อบังคับของกลุ่มบริษัทฯ และประกาศ ที่เกี่ยวข้อง
  3. ดำเนินการให้โครงสร้างการจัดการของกลุ่มบริษัทฯ มีการกำหนดอำนาจหน้าที่ และความรับผิดชอบของคณะกรรมการแต่ละคณะ และผู้บริหารอย่างชัดเจน
  4. ดำเนินการให้มีระบบการควบคุมภายใน และการบริหารความเสี่ยงให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม รวมถึงการมีระบบบัญชีและรายงานทางการเงินที่มีความถูกต้องเชื่อถือได้
  5. ดำเนินการให้มีการเปิดเผยสารสนเทศที่สำคัญอย่างเพียงพอ เชื่อถือได้ และทันเวลา ตราบเท่าที่ไม่กระทบต่อประโยชน์อันชอบธรรมของกลุ่มบริษัทฯ
  6. ตระหนักและเคารพในสิทธิแห่งความเป็นเจ้าของ ของผู้ถือหุ้น ปฏิบัติต่อผู้ถือหุ้นอย่างเท่าเทียมกัน
  7. ดำเนินการโดยคำนึงถึงความรับผิดชอบต่อผู้ถือหุ้น ผู้มีส่วนได้เสีย ชุมชน สังคม และสิ่งแวดล้อม
  8. มุ่งมั่นสู่ความเป็นเลิศในการดำเนินธุรกิจ โดยยึดมั่นในการสร้างความพึงพอใจให้แก่ลูกค้าด้วยการรับฟังและทบทวนตนเอง เพื่อเพิ่มศักยภาพในการบริหาร และสร้างสรรค์ สิ่งที่ดีที่สุดอยู่เสมอ
  9. ดำเนินการโดยคำนึงถึงความรับผิดชอบต่อผู้ถือหุ้น ผู้มีส่วนได้เสีย ชุมชน สังคม และสิ่งแวดล้อม
  10. ต่อต้านการทุจริต การคอร์รัปชั่น ไม่ล่วงละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา เคารพต่อกฎหมาย และสิทธิมนุษยชน
  11. ดำเนินการกับความขัดแย้งของผลประโยชน์ด้วยความรอบคอบ และมีเหตุผล โดยยึดถือประโยชน์ของกลุ่มบริษัทฯ เป็นที่ตั้ง

นโยบายและแนวปฏิบัติที่เกี่ยวกับผู้ถือหุ้นและผู้มีส่วนได้เสีย

บริษัทฯ เล็งเห็นและตระหนักถึงความสำคัญของผู้ถือหุ้น ได้กำหนดนโยบายและการปฏิบัติที่เกี่ยวกับผู้ถือหุ้น และผู้มีส่วนได้เสียไว้ในนโยบายการกำกับดูแลกิจการภายใต้หมวดการและการปฏิบัติต่อผู้ถือหุ้นอย่างเท่าเทียมกัน โดย มีรายละเอียด ดังนี้

  • สิทธิของผู้ถือหุ้นและความเท่าเทียมกันของผู้ถือหุ้น
  • การป้องกันการใช้ข้อมูลภายใน / การดูแลเรื่องการใช้ข้อมูลภายใน
  • การเปิดเผยข้อมูลการมีส่วนได้เสีย
  • การดูแลสิทธิของผู้มีส่วนได้เสีย
  • การดำเนินการในการต่อต้านคอร์รัปชัน
  • การกำกับดูแลบริษัทย่อยและบริษัทร่วม
  • การป้องกันความขัดแย้งทางผลประโยชน์