การตลาดและการแข่งขันและการจัดหาผลิตภัณฑ์หรือบริการ

บริษัทได้พัฒนาความสามารถในการแข่งขันอย่างต่อเนื่อง โดยมีกลยุทธ์ ดังต่อไปนี้

กลยุทธ์ผู้นำด้านต้นทุนและคุณภาพ

จากการได้รับการส่งเสริมการลงทุน BOI ช่วยเพิ่มโอกาสในการหาแหล่งวัตถุดิบที่ดีจากทั่วโลกในราคาที่ดีและเพิ่มโอกาสในการแข่งขันในตลาดต่างประเทศ ส่งผลให้มีความสามารถ ในการสร้างรายได้และกำไรสูงอย่างต่อเนื่องอย่างไรก็ตาม บริษัทยังให้ความสำคัญต่อการควบคุมคุณภาพของผลิตภัณฑ์ เพื่อให้ผลิตภัณฑ์ดังกล่าวมีคุณสมบัติตรงความต้องการ ของลูกค้า เริ่มตั้งแต่การจัดหาวัตถุดิบ การกำกับดูแลกระบวนการผลิตในแต่ละแผนก รวมไปถึงการตรวจสอบคุณภาพของผลิตภัณฑ์ที่เสร็จแล้วโดยแผนกตรวจสอบและทดสอบ สินค้า และกำหนดกระบวนการสนับสนุนเพื่อส่งเสริมให้บริษัทสามารถสร้างความสัมพันธ์ที่ดีแก่ลูกค้า ให้ประโยชน์แก่ลูกค้าทั้งในด้านราคาและคุณภาพ

กลยุทธ์การจัดการความสัมพันธ์กับซัพพลายเออร์ (Supplier relationship management)

บริษัทมีฐานข้อมูลของคู่ค้ามากถึง 1,000 ราย ทั่วโลก และมีความสัมพันธ์ที่ดีกับคู่ค้ามากกว่า 60 ราย ทำให้ บริษัทสามารถคัดสรรวัตถุดิบที่มีคุณภาพดีในราคาที่เหมาะสม และตอบเสนอความต้องการของลูกค้า การบริหารจัดการความสัมพันธ์นี้ ส่งผลให้บริษัทมีการวางแผนและการบริหารสินค้า การจัดหาวัตถุดิบ และการบริหารสินค้าคงคลังที่มีประสิทธิภาพสูง

กลยุทธ์การบริหารสภาพคล่องทางธุรกิจ (Liquidity management strategy)

บริษัทจัดให้มีระบบควบคุมภายในที่สอดคล้องกับนโยบายและกลยุทธ์การบริหารเพื่อบริหารสภาพคล่องทางการเงินโดยการจัดทางบประมาณการเงินสด ควบคุมเงินทุนหมุนเวียนของ บริษัท และสร้างเครดิตทางการเงินที่ดีกับคู่ค้าการบริหารสภาพคล่องที่ดีนั่นส่งผลให้บริษัทสร้างความได้เปรียบทางธุรกิจในเรื่องของการให้ระยะเวลาการให้สินเชื่อ (Credit Term) กับลูกค้าได้ระยะเวลาที่เหมาะสมกับความต้องการของลูกค้า

กลยุทธ์การเติบโต (Intensive growth strategy)

จุดแข็งของ บริษัท เอ.พี.ดับเบิลยู,อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด

  • ทุนจดทะเบียนและทุนชำระ 130 ล้านบาท
  • ศักยภาพกำลังการผลิตให้สูงถึง 28,000 ตันต่อปี
  • ขับเคลื่อนตามโมเดลเศรษฐกิจ Bio-Circular-Green Economy (BCG Model)
  • สร้างความตื่นตัวด้านสิ่งแวดล้อมและกระตุ้นความต้องการวัสดุรีไซเคิลในกระบวนการผลิต